วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Beginner: ท่าที่10 big basic double windmill final


Beginner: ท่าที่9 beg rico to windmill final

Beginner: ท่าที่8 beg finger ricochet final

Beginner: ท่าที่7 beg bite handle rico final

Beginner: ท่าที่6 beg basic ricochet final

Beginner: ท่าที่5 beg basic latchdrop final

Beginner: ท่าที่4 beg basic double flip out final

Beginner: ท่าที่3 beg bachand back handle drop final

Beginner: ท่าที่2 beg Basic Backhand screw final



Beginner: ท่าที่1 Beg backhand front handle drop final

มาเริ่มฝึกกันเลยดีกว่าสำหรับผู้ที่เริ่มต้นสำหรับการควงมีด หลังจากบอกประวัติที่มาแล้วคับเรามาเริ่มฝึกกันเลยดีกว่าเริ่มด้วยท่าแรก เลยดีกว่า
Beg backhand front handle drop final



วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ส่วนประกอบของ Balisong


หลักๆ ก็มีใบมีด ด้ามมีดสองอัน และตัวล็อกด้ามมีดด้ามมีดสองอันนั้นมีชื่อเรียกครับ........... ด้ามที่อยู่ตรงกับคมมีดเรียกว่า Bite Handle หรือ Danger Handle.......... ส่วนด้ามที่อยู่ด้านสันมีด เรียกว่า Safe Handle........... การควง Balisong หากเราจับที่ Safe Handle จะควงให้ตายยังไง ก็ไม่มีโอกาสโดนคมมีดครับ.......... สำหรับตัวล็อกด้ามมีดนั้น ปกติจะอยู่บน Bite Handle ใช้สำหรับเช็คว่าเรากำลังถือ Safe Handle หรือ Bite Handle อยู่ครับBalisong รุ่นใหม่ๆ ตัวล็อกด้ามมีดจะมีสปริง พอบีบที่ด้ามแล้วตัวล็อกจะกระเด้งออกมาเอง.......... บางทีอาจได้ยินบรรดาเซียน Balisong เรียกว่า Balisong Auto ก็อย่างงครับ.......... ตัวล็อกแบบมีสปริงนี้ ดีที่นอกจากจะช่วยให้ปลดล็อกได้เร็วแล้ว ตัวล็อกยังไม่สะบัดไปมาเวลาควง ทำให้ไม่มีเสียงดังน่ารำคาญ........... ที่สำคัญ คือ ตัวล็อกไม่พับเข้าไปขวางใบมีด พอควงปิดใบมีด ใบมีดก็สับลงบนตัวล็อก ทำให้มีดบิ่นได้ครับ

ดูกันต่อเลย



บาลีซอง เป็นมีดที่มีเสน่ห์มากแบบหนึ่ง ใครได้เห็นได้จับแล้วมีสิทธิ์หลงเสน่ห์ทุกราย ยิ่งถ้ารู้วิธีเปิดปิดใช้งานแล้วนี่อาจเข้าขั้นโงหัวไม่ขึ้น...ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ มีดบาลีซองสามารถใช้เล่นได้ และมีลูกเล่นให้ฝึกเล่นฝึกใช้มากมาย นอกเหนือจากการใช้ประจำวันหรือเป็นมีดต่อสู้ที่เร็วการควงมีดหรือที่เรียกว่า Balisong มีที่มาจากประเทศฟิลิปปิน โดยคำว่า Balisong มาจากภาษาตากาล็อก (Tagalog) มีความหมายแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "broken horn" เอาไว้ใช้ในการรบ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารอเมริกันที่ไปทำการรบยังฟิลิปปินได้ไปเห็นเข้าก็ได้ซื้อกลับไปยังฝั่งตะวันตก ทำให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลกดังเช่นทุกวันนี้ในนาม "Butterfly KnifeBalisong มีดผีเสื้อ Butterfly knife Balisong เป็นมีดเพื่อการต่อสู้ จุดเด่นของมีดอยู่ที่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ตั้งแต่ยังไม่เปิดใบ เทคนิคการใช้แบบ Loaded fist นั้นมักใช้เทคนิคเดียวกันกับการใช้ Hand stick หรือ Yawara ที่เรารู้จักกันในนานของ Kubaton ซึ่งเทคนิคที่ใช้นอกจากจะใช้กำชกกำทุบแล้ว การฝึกหัดอย่างมีระบบการใช้แบบ Gunting สามารถใช้ได้ดีกับอาวุธประเภทนี้ครับอย่างที่ทราบๆกันแล้วว่ามันเป็นอาวุธพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แพร่เข้ามาในอเมริกาและสายตาชาวโลกก็เนืองจากการถูกนำมาใช้ในการแสดง แต่ก่อนหน้านั้น...อเมริกาเริ่มรู้จักพิษสงของมีดและวิธีการใช้จากการที่ได้ซื้อฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน ต่อมาเมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานขุดทองของชาวฟิลิปปินส์สู่แผ่นดินอเมริกา...สิ่งที่ขาดไม่ได้ของคนเดินทางเสี่ยงโชคก็คือการที่มีอาวุธที่มีพิษสงคุ้นมือติตัว...มีดบาลีซองจึงแพร้เข้ามาพร้อมกับการย้ายถิ่นฐานและเป็นที่นิยมของกลุ่มชนสังคมของฟิลิปินส์ชื่อที่มาของมีดนั้น...มีหลายกระแส...ที่สำคัญๆก็คือ...ความหมายของมีด Balisong มีพื้นฐานคำมาจากคำว่า Bali ซึ่งแปลว่าแตกหรือแยก กับคำว่า Sung ที่แปลว่าเขาสัตว์หรือกระดูก (ด้ามของบาลีซองมักใช้ส่วนของเขาสัตว์ทำ...ที่นิยมคือเขาควายครับ) ต่อมามีการเพี้ยนคำ...จากคำว่า Sung กลายเป็น Song ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นคำพ้องเสียงออกเสียงใกล้เคียงกันก็เป็นได้ครับ...อีกกระแสนึงกล่าวว่ามาจากชื่อเมือง สถานที่ประมาณนั้น...คำว่าบาลิซองนั้นอาจมีที่มาอีกอย่างหนึ่งคือ...การใช้คำแปลสองภาษารวมกันระหว่างคำว่า Bali ที่แปลว่าแตกหรือแยก กับคำว่า Song ที่แปลว่าเสียงเพลงในภาษาอังกฤษ หมายถึงเสียงที่มาจากรอยแตก หรือเสียงเพลงกระทบของรอยแยกประมาณนั้นครับอันหลังนี้คนที่นำมาใช้จะเขียนว่า Bali-song ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท แปซิฟิค คัทเทอร์รี่ ซึ่งก่อนนั้นเป็นบริษัทมีดเล็กๆไม่ใคร่จะมีชื่อเสียงมากนักแต่ก็เป็นที่รู้จักกันบ้างในวงการการต่อสู้โดยการทำมีดแบบ Bali-song คุณภาพดี และเป็นที่รู้จักมากขึ้น...ภายหลังได้แจ้งเกิดในนาม Benchmade ที่เรารู้จักกันดีแต่โลโก้ก็ยังเป็นรูปผีเสื้อและคำ Bali-song อยู่นั่นเองเข้าใจว่าการที่แปซิฟิคจดทะเบียนนั้นไม่สามารถจดโดยใช้คำที่มีการกันทั่วไปอยู่แล้วจึงใช้คำว่าเสียงของรอยแตก Bali- song มาใช้ การแพร่หลายกระจายใช้อย่างกว้างขวางของบาลีซองนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเสน่ห์การใช้เปิดปิด รวมถึงความรวดเร็วในการใช้งาน และขู่ขวัญข่มขู่ จึงเป็นที่นิยมของบรรดาแก็งค์สเตอร์ทั่วไป ในช่วงแรกๆนั้นมีดพับที่สามารถเปิดปิดมือเดียวที่ทำได้โดยสะดวกนั้นยังไม่มี มีดพับแบบบาลีซองจึงกลายเป็นมีดพับที่สามารถใช้งานได้เร็วที่สุด.....ต่อมาการแพร่หลายของมีดออโต้ มีดสปริงก็เริ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทดแทนที่มีดแบบบาลีซองนักเพราะไม่ว่าอย่างไรมีดแบบบาลีซองก็พร้อมใช้เปิดง่ายและเก็บง่าย ว่องไวกว่า...และด้วยเหตุนี้เองมีดบาลีซองจึงติดร่างแหมีดออโต้ มีดสปริง โดนให้เป็นมีดต้องห้ามในหลายๆรัฐในอเมริกาและหลายประเทศทั่วโลก...

ที่มาของ balisong

การควงมีดหรือที่เรียกว่า Balisong มีที่มาจากประเทศฟิลิปปิน โดยคำว่า Balisong มาจากภาษาตากาล็อก (Tagalog) มีความหมายแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "broken horn" เอาไว้ใช้ในการรบ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารอเมริกันที่ไปทำการรบยังฟิลิปปินได้ไปเห็นเข้าก็ได้ซื้อกลับไปยังฝั่งตะวันตก ทำให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลกดังเช่นทุกวันนี้ในนาม "Butterfly Knife



Balisong มีดผีเสื้อ Butterfly knife
Balisong เป็นมีดเพื่อการต่อสู้ จุดเด่นของมีดอยู่ที่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ตั้งแต่ยังไม่เปิดใบ เทคนิคการใช้แบบ Loaded fist นั้นมักใช้เทคนิคเดียวกันกับการใช้ Hand stick หรือ Yawara ที่เรารู้จักกันในนานของ Kubaton ซึ่งเทคนิคที่ใช้นอกจากจะใช้กำชกกำทุบแล้ว การฝึกหัดอย่างมีระบบการใช้แบบ Gunting สามารถใช้ได้ดีกับอาวุธประเภทนี้ครับ
อย่างที่ทราบๆกันแล้วว่ามันเป็นอาวุธพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แพร่เข้ามาในอเมริกาและสายตาชาวโลกก็เนืองจากการถูกนำมาใช้ในการแสดง แต่ก่อนหน้านั้น...อเมริกาเริ่มรู้จักพิษสงของมีดและวิธีการใช้จากการที่ได้ซื้อฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน ต่อมาเมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานขุดทองของชาวฟิลิปปินส์สู่แผ่นดินอเมริกา...สิ่งที่ขาดไม่ได้ของคนเดินทางเสี่ยงโชคก็คือการที่มีอาวุธที่มีพิษสงคุ้นมือติตัว...มีดบาลีซองจึงแพร้เข้ามาพร้อมกับการย้ายถิ่นฐานและเป็นที่นิยมของกลุ่มชนสังคมของฟิลิปินส์
ชื่อที่มาของมีดนั้น...มีหลายกระแส...ที่สำคัญๆก็คือ...ความหมายของมีด Balisong มีพื้นฐานคำมาจากคำว่า Bali ซึ่งแปลว่าแตกหรือแยก กับคำว่า Sung ที่แปลว่าเขาสัตว์หรือกระดูก (ด้ามของบาลีซองมักใช้ส่วนของเขาสัตว์ทำ...ที่นิยมคือเขาควายครับ) ต่อมามีการเพี้ยนคำ...จากคำว่า Sung กลายเป็น Song ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นคำพ้องเสียงออกเสียงใกล้เคียงกันก็เป็นได้ครับ...
อีกกระแสนึงกล่าวว่ามาจากชื่อเมือง สถานที่ประมาณนั้น...
คำว่าบาลิซองนั้นอาจมีที่มาอีกอย่างหนึ่งคือ...การใช้คำแปลสองภาษารวมกันระหว่างคำว่า Bali ที่แปลว่าแตกหรือแยก กับคำว่า Song ที่แปลว่าเสียงเพลงในภาษาอังกฤษ หมายถึงเสียงที่มาจากรอยแตก หรือเสียงเพลงกระทบของรอยแยกประมาณนั้นครับ
อันหลังนี้คนที่นำมาใช้จะเขียนว่า Bali-song ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท แปซิฟิค คัทเทอร์รี่ ซึ่งก่อนนั้นเป็นบริษัทมีดเล็กๆไม่ใคร่จะมีชื่อเสียงมากนักแต่ก็เป็นที่รู้จักกันบ้างในวงการการต่อสู้โดยการทำมีดแบบ Bali-song คุณภาพดี และเป็นที่รู้จักมากขึ้น...ภายหลังได้แจ้งเกิดในนาม Benchmade ที่เรารู้จักกันดีแต่โลโก้ก็ยังเป็นรูปผีเสื้อและคำ Bali-song อยู่นั่นเอง
เข้าใจว่าการที่แปซิฟิคจดทะเบียนนั้นไม่สามารถจดโดยใช้คำที่มีการกันทั่วไปอยู่แล้วจึงใช้คำว่าเสียงของรอยแตก Bali- song มาใช้
การแพร่หลายกระจายใช้อย่างกว้างขวางของบาลีซองนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเสน่ห์การใช้เปิดปิด รวมถึงความรวดเร็วในการใช้งาน และขู่ขวัญข่มขู่ จึงเป็นที่นิยมของบรรดาแก็งค์สเตอร์ทั่วไป ในช่วงแรกๆนั้นมีดพับที่สามารถเปิดปิดมือเดียวที่ทำได้โดยสะดวกนั้นยังไม่มี มีดพับแบบบาลีซองจึงกลายเป็นมีดพับที่สามารถใช้งานได้เร็วที่สุด.....
ต่อมาการแพร่หลายของมีดออโต้ มีดสปริงก็เริ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทดแทนที่มีดแบบบาลีซองนักเพราะไม่ว่าอย่างไรมีดแบบบาลีซองก็พร้อมใช้เปิดง่ายและเก็บง่าย ว่องไวกว่า...และด้วยเหตุนี้เองมีดบาลีซองจึงติดร่างแหมีดออโต้ มีดสปริง โดนให้เป็นมีดต้องห้ามในหลายๆรัฐในอเมริกาและหลายประเทศทั่วโลก...
ข้อมูลจาก http://www.bladereview.com/forums/index.php?topic=2156.50
http://www.bladereview.com/forums/index.php?topic=2156.25