วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ดูกันต่อเลย
บาลีซอง เป็นมีดที่มีเสน่ห์มากแบบหนึ่ง ใครได้เห็นได้จับแล้วมีสิทธิ์หลงเสน่ห์ทุกราย ยิ่งถ้ารู้วิธีเปิดปิดใช้งานแล้วนี่อาจเข้าขั้นโงหัวไม่ขึ้น...ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ มีดบาลีซองสามารถใช้เล่นได้ และมีลูกเล่นให้ฝึกเล่นฝึกใช้มากมาย นอกเหนือจากการใช้ประจำวันหรือเป็นมีดต่อสู้ที่เร็วการควงมีดหรือที่เรียกว่า Balisong มีที่มาจากประเทศฟิลิปปิน โดยคำว่า Balisong มาจากภาษาตากาล็อก (Tagalog) มีความหมายแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "broken horn" เอาไว้ใช้ในการรบ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารอเมริกันที่ไปทำการรบยังฟิลิปปินได้ไปเห็นเข้าก็ได้ซื้อกลับไปยังฝั่งตะวันตก ทำให้เป็นที่นิยมไปทั่วโลกดังเช่นทุกวันนี้ในนาม "Butterfly KnifeBalisong มีดผีเสื้อ Butterfly knife Balisong เป็นมีดเพื่อการต่อสู้ จุดเด่นของมีดอยู่ที่สามารถใช้เป็นอาวุธได้ตั้งแต่ยังไม่เปิดใบ เทคนิคการใช้แบบ Loaded fist นั้นมักใช้เทคนิคเดียวกันกับการใช้ Hand stick หรือ Yawara ที่เรารู้จักกันในนานของ Kubaton ซึ่งเทคนิคที่ใช้นอกจากจะใช้กำชกกำทุบแล้ว การฝึกหัดอย่างมีระบบการใช้แบบ Gunting สามารถใช้ได้ดีกับอาวุธประเภทนี้ครับอย่างที่ทราบๆกันแล้วว่ามันเป็นอาวุธพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ แพร่เข้ามาในอเมริกาและสายตาชาวโลกก็เนืองจากการถูกนำมาใช้ในการแสดง แต่ก่อนหน้านั้น...อเมริกาเริ่มรู้จักพิษสงของมีดและวิธีการใช้จากการที่ได้ซื้อฟิลิปปินส์ต่อจากสเปน ต่อมาเมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นฐานขุดทองของชาวฟิลิปปินส์สู่แผ่นดินอเมริกา...สิ่งที่ขาดไม่ได้ของคนเดินทางเสี่ยงโชคก็คือการที่มีอาวุธที่มีพิษสงคุ้นมือติตัว...มีดบาลีซองจึงแพร้เข้ามาพร้อมกับการย้ายถิ่นฐานและเป็นที่นิยมของกลุ่มชนสังคมของฟิลิปินส์ชื่อที่มาของมีดนั้น...มีหลายกระแส...ที่สำคัญๆก็คือ...ความหมายของมีด Balisong มีพื้นฐานคำมาจากคำว่า Bali ซึ่งแปลว่าแตกหรือแยก กับคำว่า Sung ที่แปลว่าเขาสัตว์หรือกระดูก (ด้ามของบาลีซองมักใช้ส่วนของเขาสัตว์ทำ...ที่นิยมคือเขาควายครับ) ต่อมามีการเพี้ยนคำ...จากคำว่า Sung กลายเป็น Song ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นคำพ้องเสียงออกเสียงใกล้เคียงกันก็เป็นได้ครับ...อีกกระแสนึงกล่าวว่ามาจากชื่อเมือง สถานที่ประมาณนั้น...คำว่าบาลิซองนั้นอาจมีที่มาอีกอย่างหนึ่งคือ...การใช้คำแปลสองภาษารวมกันระหว่างคำว่า Bali ที่แปลว่าแตกหรือแยก กับคำว่า Song ที่แปลว่าเสียงเพลงในภาษาอังกฤษ หมายถึงเสียงที่มาจากรอยแตก หรือเสียงเพลงกระทบของรอยแยกประมาณนั้นครับอันหลังนี้คนที่นำมาใช้จะเขียนว่า Bali-song ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท แปซิฟิค คัทเทอร์รี่ ซึ่งก่อนนั้นเป็นบริษัทมีดเล็กๆไม่ใคร่จะมีชื่อเสียงมากนักแต่ก็เป็นที่รู้จักกันบ้างในวงการการต่อสู้โดยการทำมีดแบบ Bali-song คุณภาพดี และเป็นที่รู้จักมากขึ้น...ภายหลังได้แจ้งเกิดในนาม Benchmade ที่เรารู้จักกันดีแต่โลโก้ก็ยังเป็นรูปผีเสื้อและคำ Bali-song อยู่นั่นเองเข้าใจว่าการที่แปซิฟิคจดทะเบียนนั้นไม่สามารถจดโดยใช้คำที่มีการกันทั่วไปอยู่แล้วจึงใช้คำว่าเสียงของรอยแตก Bali- song มาใช้ การแพร่หลายกระจายใช้อย่างกว้างขวางของบาลีซองนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเสน่ห์การใช้เปิดปิด รวมถึงความรวดเร็วในการใช้งาน และขู่ขวัญข่มขู่ จึงเป็นที่นิยมของบรรดาแก็งค์สเตอร์ทั่วไป ในช่วงแรกๆนั้นมีดพับที่สามารถเปิดปิดมือเดียวที่ทำได้โดยสะดวกนั้นยังไม่มี มีดพับแบบบาลีซองจึงกลายเป็นมีดพับที่สามารถใช้งานได้เร็วที่สุด.....ต่อมาการแพร่หลายของมีดออโต้ มีดสปริงก็เริ่มขึ้น แต่ก็ไม่สามารถทดแทนที่มีดแบบบาลีซองนักเพราะไม่ว่าอย่างไรมีดแบบบาลีซองก็พร้อมใช้เปิดง่ายและเก็บง่าย ว่องไวกว่า...และด้วยเหตุนี้เองมีดบาลีซองจึงติดร่างแหมีดออโต้ มีดสปริง โดนให้เป็นมีดต้องห้ามในหลายๆรัฐในอเมริกาและหลายประเทศทั่วโลก...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น